วันพุธ, 8 พฤษภาคม 2567

เกษตรกรชาวสวนลำไย ร้อยละ 97.36 เห็นด้วยกับการชดเชยราคาลำไยไร่ละ 2,000 บาท และร้อยละ 82.57 คาดหวังการตั้ง “สถาบันลำไย”

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรชาวสวนลำไยในพื้นที่ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 28.87 จังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 32.75 จังหวัดลำพูน ร้อยละ 30.63 จังหวัดลำปาง ร้อยละ 3.35 และจังหวัดพะเยา ร้อยละ 4.40) จำนวนทั้งสิ้น  568 ราย ระหว่างวันที่ 25 กันยายน – 5 ตุลาคม 2563  ในหัวข้อ “วิกฤติโควิด..วิกฤติผลผลิตลำไยไทย ทางออกและการเยียวยาจากภาครัฐ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรชาวสวนลำไยเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตลำไยและราคาผลผลิตในฤดูกาลปัจจุบัน ผลการสำรวจพบว่าเกษตรกรชาวสวนลำไยส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.65 ได้รับผลกระทบจากกรณีราคาลำไยตกต่ำ เมื่อสอบถามถึงปริมาณลำไยของเกษตรกรชาวสวนลำไยในปีล่าสุด พบว่า เกษตรกรชาวสวนลำไยส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.43 มีผลผลิตที่ลดลง และอีกร้อยละ 22.89 มีผลผลิตเท่าเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลการผลิตที่ผ่านมา มีเพียง 9.68 ที่มีผลผลิตลำไยคุณภาพที่เพิ่มสูงขึ้น  จากการสอบถามถึงการรับรู้ รับทราบโครงการเยียวยา/ชดเชยเกษตรกรชาวสวนลำไย 2,000 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่ เกษตรกรชาวสวนลำไยส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.93 รับทราบถึงโครงการดังกล่าว โดยมีเพียง ร้อยละ 20.07 ที่ไม่ทราบ  ด้านต้นทุนการผลิตลำไย เกษตรกรชาวสวนลำไยส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.07 พบว่า มีต้นทุนในการผลิตลำไยมากกว่า 2,001 บาท/ไร่ รองลงมา ร้อยละ 29.93 มีต้นทุนในการผลิตลำไยไม่เกิน 2,000 บาท/ไร่  เมื่อสอบถามถึงการได้รับสิทธิ์ในโครงการเยียวยาชดเชยเกษตรกรชาวสวนลำไย พบว่า เกษตรกรชาวสวนลำไยส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.90 อยู่ในข่ายได้รับสิทธิ์ มีเกษตรกรชาวสวนลำไยเพียง ร้อยละ 17.78 ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิ์ และร้อยละ 15.32 ไม่แน่ใจว่าจะได้รับสิทธิ์ในการเยียวยาหรือไม่ และเมื่อสอบถามความคิดเห็นโครงการเยียวยาชดเชยเกษตรกรชาวสวนลำไย 2,000 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่ ของทางภาครัฐ เกษตรกรชาวสวนลำไยส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.36 เห็นด้วยกับโครงการ ซึ่งมีเพียง ร้อยละ 2.64 ที่ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ (ร้อยละ 66.67) และเงินงบประมาณในการเยียวยาน้อยเกินไป (ร้อยละ 33.33)

     สำหรับความคาดหวังที่มีต่อ “สถาบันลำไย” พบว่า อันดับ 1 ช่วยเป็นตัวกลางในการจัดหาตลาดระบายลำไยคุณภาพลำไยเกรด B / C / D ให้กับเกษตรกร (ร้อยละ 82.57) อันดับ 2 ช่วยยกระดับคุณภาพลำไยเกรด B / C / D ให้มีราคาที่ดีขึ้น (ร้อยละ 80.99) อันดับ 3 ช่วยยกระดับคุณภาพลำไยเกรด AAA / AA /  A ให้มีคุณภาพที่ดีและราคาที่สูงขึ้น (ร้อยละ 76.41) และอันดับสุดท้าย ช่วยคิดค้นนวัตกรรมการแปรรูปผลผลิตลำไยที่เป็นส่วนเกิน เพื่อส่งออกขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ (ร้อยละ 32.75)

นานมาแล้วที่เกษตรกรภาคเหนือเคยร่ำรวยจากการขายลำไย จนถึงกับเปลี่ยนแปลงพื้นที่นา และพื้นที่ทำการเกษตรอื่น ๆ ให้กลายเป็นสวนลำไยอย่างกว้างขวาง ทำให้ราคาลำไยสดผันผวน ซึ่งในแต่ละฤดูกาลราคาลำไยสดจะแตกต่างกันออกไปและด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับศึกหลายด้านที่นอกเหนือจากศึกด้านเศรษฐกิจแล้วนั้น ประเทศยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบบของ COVID-19 ทำให้ลำไยซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรรายได้หลักของเกษตรกรภาคเหนือได้รับผลกระทบตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐก็ไม่นิ่งนอนใจได้ระดมความคิดเห็นหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไย โดยการจัดตั้ง “สถาบันลำไย” ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวกลางในการจัดหาตลาดระบายลำไยคุณภาพเกรด B / C / D ให้เกษตรกรและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวชวนลำไยให้ดีขึ้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการทำบุญเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 31 ปี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567
รับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับค่าจ้างจากเงินรายได้ ตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 3 อัตรา สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ (ครั้งที่ 1)
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ไฮโดรไทย จำกัด
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จับมือลงนาม MOU ร่วมมือด้านวิชาการฯ เพื่อการอนุรักษ์ช้างไทยอย่างยั่งยืน

อีกหนึ่งช่องทางติดตามข่าวสารกับเราที่ FACEBOOK


This will close in 20 seconds