วันเสาร์, 18 พฤษภาคม 2567

นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการ U2T For BCG ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จังหวัดชุมพ

.
วันที่ 4 กันยายน 2565  ที่ผ่านมา นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร โดยมี ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คณาจารย์ และผู้เข้าร่วมโครงการ ให้การต้อนรับ ร่วมประชุมหารือการดำเนินงานโครงการ U2T For BCG นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ที่สำคัญ โดยการต่อยอดจากการขยายพันธุ์ปูม้าในโครงการ U2T เฟส1 มาสู่การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีของสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสาขาวิชาเคมี ในการสกัดสารยูจีนอล (Eugenol) จากใบเสม็ดขาวซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่พบมากในบริเวณพื้นที่ป่าพรุในจังหวัดชุมพร ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ปูม้าสลบในการขนส่งปูม้ามีชีวิตให้มีอัตรารอดระหว่างขนส่งให้นานที่สุด ทำให้จัดส่งปูม้ามีชีวิตไปให้ผู้บริโภคในพื้นที่ห่างไกลได้นานและสามารถรักษาคุณภาพของปูม้าให้ดีที่สุด ทำให้ปูม้ามีราคาดี และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างมาก นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ยังได้ช่วยพัฒนาปุ๋ยไมโคกรีน จากเปลือกปูม้าเป็นอาหารเสริมช่วยการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากมีแคลเซียม แมกนีเซียมสูง ทำให้ช่วยเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ได้ลงพื้นที่ ณ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละเเม จังหวัดชุมพร ร่วมกับคณะอาจารย์และผู้เข้าร่วม
โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร โดยมี นายไสว แสงสว่าง ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรม จังหวัดชุมพรและคณะให้การต้อนรับโดยการเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร อาทิ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากส้มจี๊ด น้ำผึ้งบริสุทธิ์จากธรรมชาติที่ปลอดภัยกับผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าว ไข่เค็มไชยา ไส้อั่วทะเล สับปะรดพื้นเมือง การเพาะเชื้อราเมธาไรเซียมป้องกันโรครากเน่า/โคนเน่า/กำจัดเเมลง ปุ๋ยอินทรีย์อาหารพืช – ชีวภาพชนิดเม็ด เป็นต้น ซึ่งในพื้นที่ของตำบลทุ่งหลวง มหาวิทยาลัยเเม่โจ้ – ชุมพร ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนพัฒนาตลาดอินทรีย์ วิถีชุมพร เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เกษตรกรให้นำสินค้าเกษตรอินทรีย์มาขาย รวมทั้งสินค้าจากโครงการ U2T For BCG ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค
.
ข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

อีกหนึ่งช่องทางติดตามข่าวสารกับเราที่ FACEBOOK


This will close in 20 seconds