วันเสาร์, 18 พฤษภาคม 2567

คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและติดตามความก้าวหน้าโครงการเศรษฐกิจฐานราก “ชุมพรโมเดล” ณ กทช.หงษ์เจริญ อำเภอเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

วันที่ 14 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.นเรศ ศิริเกษร อาจารย์นรมน โลไทยสงค์ ที่ปรึกษาโครงการชุมพรโมเดล นายปราโมทย์ ใสจุล ปฎิรูปที่ดินจังหวัดชุมพร นางอ่อนศรี บรรคุเนิน เกษตรอำเภอท่าแซะ นายสราวุฒิ แต่งสถิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฏหมาย ส.ป.ก.ชุมพร อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ หัวหน้าชุดโครงการวิจัย “กลไกการพัฒนาพื้นที่เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม จังหวัดชุมพร” คณะนักวิจัย และเกษตรกรในพื้น กทช.หงษ์เจริญ ร่วมให้การต้อนรับ คณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายอัครวัฒน์ อัศวเหม ประธานคณะกรรมาธิการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมวิจัยโครงการ “กลไกการพัฒนาพื้นที่เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม จังหวัดชุมพร” ณ กทช.หงษ์เจริญ ตำบลท่าแซะ อำเภอเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการ “ชุมพรโมเดล” ต้องได้รับความร่วมมือ จาก 3 ภาคส่วน ได้แก่
1.การขับเคลื่อนในพื้นที่ โดยเกษตรกร
2.การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม
3.ความร่วมมือของส่วนราชการในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการแก้ไขปัญหา คือ ด้านรายได้ของประชาชนในพื้นที่ โดยมีคณะกรรมาธิการ เป็นกลไกในการเชื่อมต่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา เป้าหมายในการขับเคลื่อน “ชุมพรโมเดล” คือ ให้เกษตรกรมีรายได้ครัวเรือน เพิ่มขึ้น มากกว่า 10,000 บาท/เดือน และมีรายได้อย่างยั่งยืน อีกหนึ่งด้านที่สำคัญ คือ ด้านการสื่อสารของโครงการเพื่อให้ กลุ่มผู้ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ รับทราบข้อมูล และการเผยแพร่ให้คนภายนอกได้รับทราบ ทั้ง 3 ด้านได้แก่
1.สร้างการรับรู้ โครงการสร้างรายได้จริง
2.การเข้าใจ การดำเนินการจัดทำกระบวนการที่ยั่งยืน
3.สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการขับเคลื่อนทั้งภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัดอย่างทั่วถึง
ในการนี้ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ หัวหน้าชุดโครงการวิจัย “ชุมพรโมเดล” ได้รายงานถึงความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมวิจัยในพื้นที่ กทช.หงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยได้จัดอบรมเชิงปฎิบัติการไปแล้ว ดังนี้
1.การเลี้ยงแหนแดงเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อาหารปศุสัตว์และประมง
2.การผลิตเครื่องแกงก้อนกึ่งสำเร็จรูปด้วยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
3.การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากกล้วยเล็บมือนาง
พร้อมกันนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมภายหลังการอบรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดประชุมกับคณะนักวิจัยเป็นประจำ เพื่อรายงานความคืบหน้าการวิจัยในแต่ละกิจกรรม ตลอดจนรายงานปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม นอกจากลงพื้นเยี่ยมชมแปลงเกษตรกร “การเลี้ยงแหนแดงเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อาหารปศุสัตว์และประมง” คณะกรรมาธิการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎรและคณะ ได้เข้าเยี่ยมชมบูธต่างๆ อาทิ กาแฟชายเก๋พันวานชุมพร,วิสาหกิจชุมชน มัลเบอร์รี่เขาช่องศีรีวงค์ ,กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหงษ์เจริญ พร้อมกับรับฟังปัญหาและให้ข้อเสนอแนะแก่เกษตรกร นับว่าเป็นการเป็นสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี ให้เกษตรกรในพื้นที่ กทช.หงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ต่อไป
.
ข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
.

อีกหนึ่งช่องทางติดตามข่าวสารกับเราที่ FACEBOOK


This will close in 20 seconds